วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อาลัยยิ่งอาจารย์สุธีร์ ธนรัช รองคณบดีฯ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

ขอแสดงความเสียใจและอาลัยยิ่งต่อการจากไปอย่างกระทันหัน ของอาจารย์สุธีร์ ธนรัช รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ประจำสาขาคอมพิวเตอร์อาร์ต คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ขณะปฎิบัติหน้าที่ ณ ห้องประชุมคณะศิลปะและการออกแบบ เมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2552

พิธีรดน้ำศพ และสวดอภิธรรมศพ ณ ศาลา 1 วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2552
- สวดอภิธรรมศพวันที่ 11-13 ธันวาคม 2552 เวลา 18.30 น.
- ฌาปนกิจศพ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2552 เวลา 17.00 น.

ศิษย์เก่าวิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลอดจน คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน คณะศิลปกรรม คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมงานโดยพร้อมเพรียง

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Assignment

มหาวิทยาลัยประกาศหยุดตั้งแค่วันที่ 25ธ.ค.52-4ม.ค.53 ขอใช้ blog นี้สื่อสาร-สั่งงานฝากข่าวสารกับนักศึกษาออกแบบนิเทศศิลป์ ดังนี้
.....................................
Assignment 1 report นำเสนอภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์เรื่องยาว มิวสิควิดีโอ
write ส่งเป็นแผ่น CD/DVD ดังนี้
1. ภาพยนตร์โฆษณา 10 เรื่อง ในประเทศหรือต่างประเทศ
2. มิวสิควิโอ 1 เพลง ในประเทศหรือต่างประเทศ
3. ภาพยนตร์เรื่องยาวไทยหรือต่างประเทศ 1 เรื่อง copy เป็น vcd/dvd
ทั้ง 3 หัวข้อเน้น เรื่องความคิดการสร้างสรรค์ การเล่าเรื่อง การสื่อความหมายด้วยภาพ ภาษาภาพยนตร์ คุณภาพและความคมชัดของภาพยนตร์ฯ
(พร้อมเลือก 1 เรื่อง นำเสนอหน้าชั้นเรียน ตามวันที่กำหนด)
...
แนวทางการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
นำเสนอ แนวคิดหรือความคิดสรางสรรค์ เรื่องราว การสื่อสาร กลุ่มเป้าหมาย กลยุทธการนำเสนอ ฯลฯ (คนละ 10-15 นาที)
...
กำหนดส่ง
ส่ง fileเป็นแผ่น vcd/dvd ในวันที่ 9 ม.ค.53 เท่านั้น ส่งช้าวันหักวันละ 1 เกรด
นำเสนอหน้าชั้นเรียน ตั้งแต่ 9 ม.ค.53 เป็นต้นไปโดยสุ่มตัวอย่างสัปดาห์ละ 1-5 คน
.........................................
Assignment 2 storyboard
สร้างสรรค์และผลิต storyboard โดยเลือกจากหัวข้อดังนี้
1.สันติภาพ 2.ภาวะโลกร้อน 3.สิทธิสตรี 4.ลดความรุนแรง(3จังหวัดชายแดนภาคใต้) 5.หัวข้ออิสระ
ส่ง concept/ideaboard(เล่าเรื่องโดยยังไม่ต้องใส่รายละเอียด เช่น ขนาดภาพ การเคลื่อนกล้อง เสียง ดนตรี ฯลฯ ) แล้วนำกลับไปแก้ไขและพัฒนาเป็น storyboard ไม่ตำกว่า 12 ช่อง
...
กำหนดส่ง
concept/ideaboard 9 ม.ค.53 นำเสนอในเวลาเรียน
storyboard 23 ม.ค.53 นำเสนอในเวลาเรียน นำไปปรับปรุงแก้ไข้
30 ม.ค. 53 ส่งผลงาน finish สรุปผล
...
ตัวอย่าง concept/ideaboard











ตัวอย่าง storyboard





























........................................................
Assignment 3 สรางสรรค์และผลิต storyboard ภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวประเทศไทย
ส่ง concept/ideaboard นำไปปรับแก้ไขพัฒนาแล้วส่งเป็น storyboard (ไม่ตำกว่า 12 ช่อง)
ภาพยนตร์โฆษณา ชื่อชุด ................ แนวความคิด .................
ลูกค้า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ความยาว 30 วินาที
...
การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ชื่อชุด .............. แนวความคิด ................... กลุ่มเป้าหมาย ......................
...
กำหนดส่ง
concept/ideaboard 6 ก.พ.53 นำเสนอในเวลาเรียน นำไปปรับปรุงแก้ไข
storyboard 20 ก.พ. 53 นำเสนอในเวลาเรียน นำไปปรับปรุงแก้ไข
5 มี.ค. 53 ส่งงาน finish
กรณีไม่ผ่านให้นำไปปรับปรุงแก้ไข แล้วส่งอย่างช้าไม่เกิน 5 มี.ค.53 ที่ห้องพักอ.242/4 ไม่เกิน 18.00 น.
...
หมายเหตุ สอบย่อย ครั้งที่ 2 16 ม.ค. 53 การสื่อสารด้วยภาพ ภาษาภาพยนตร์ อาทิ ขนาดภาพ มุมกล้อง การเคลื่อนกล้อง การตัดต่อลำดับภาพ ศัพท์เทคนิค มุมมอง pov ฯลฯ
สอบย่อย ครั้งที่ 3 13 ก.พ. 53 ดูภาพยนตร์โฆษณา 2 เรื่อง แล้ววิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมาย แนวความคิด กลยุทธ์การสื่อสาร
(งานทุกชิ้น นักศึกษาต้องส่งด้วยตัวเอง ไม่รับงานฝากส่งไม่ว่ากรณีใดๆ
....................................................
เก็บมาเล่า เอามาฝาก
A storyboard is a sequence of images and words drawn together on a page to form a plausible narrative. Storyboards are routinely used in the movie making business to ‘preview’ a movie before a single shot is taken. Not only does a storyboard allow for a dress rehearsal of the final product but by the very fact of being posted on the wall, it elicits early feedback and encourages quick, painless editing, leading to significant savings in time and resources. Disney was a storyboarding freak! A storyboard is an apt metaphor for how we make sense of our own life history. Storyboarding can be used to sense emergent patterns in our own life story and to envision the life experiences that we wish to welcome into our future. Try storyboarding the past and future events in your Life!

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความจริง "เทียม" ในภาพยนตร์โฆษณา

"สิ่งที่คุณเห็นในโฆษณาเป็นความจริงทั้งหมด แต่ความเป็นจริงทั้งหมดไม่ได้ปรากฏในงานโฆษณา"

เป็นที่รู้กันว่า โฆษณา เป็น "Half Truth" คือ พูดความจริงเพียงครึ่งเดียว ภายใต้หลักการ สิ่งที่คุณเห็นในโฆษณาเป็นความจริงทั้งหมด แต่ความเป็นจริงทั้งหมดไม่ได้ปรากฏอยู่ในงานโฆษณา ในที่นี้คงไม่ต้องกล่าวถึงโฆษณาชวนเชื่อทั้งหลายที่ทั้งล่อทั้งหลอกทั้งกล่าวอ้างสรรพคุณจนผู้บริโภคอย่างเราๆ ยอมควักเงินออกจากกระเป๋าโดยไม่ต้องเสียเวลาคิด

มีโฆษณาประเภทหนึ่งซึ่งเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์องค์กร บริษัท หรือธุรกิจที่มุ่งให้ผู้บริโภคจดจำภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ด้วยการแสดงตนในการเป็นพลเมืองดีของสังคม ทำประโยชน์แก่สังคมโดยนำกิจกรรมที่องค์กรทำมาเผยแพร่ เช่น การปลูกป่า, การช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส, การสานสายใยครอบครัว, การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ความรักในผืนแผ่นดินถิ่นเกิด, ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ ฯลฯ (เคยดูโฆษณาประเภทนี้แล้ว ลองนึกตามว่าคือโฆษณาอะไรบ้าง)

เมื่อเราดูโฆษณาเหล่านี้เราจะรู้สึกเหมือนได้ดูหนังสั้นหรือสารคดีสั้นๆ ชิ้นหนึ่งที่ครบเครื่องทั้งภาพ เพลง และเรื่องราว ภาพยนตร์โฆษณาประเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม ภาพยนตร์โฆษณาบางเรื่องสามารถทำให้ผู้ชมซาบซึ้งน้ำตาซึม ภาพยนตร์โฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรหลายเรื่องเป็นที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ของผู้คนในสังคมแต่ละช่วงขณะของเวลา

ภาพยนตร์โฆษณาเช่นนี้ย่อมมีผลต่อการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อองค์กรหรือบริษัทนั้นๆ ว่า เขาช่างดีอะไรเช่นนี้ ถึงจะทำการค้าแต่ก็ยังคิดถึงสังคม คิดถึงประเทศชาติ อย่างนี้ซิน่าสนับสนุนสินค้าขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่บริษัท/องค์กรอื่นๆ ที่เคยมีโฆษณาขายสินค้าแบบทื่อๆ ตรงๆ ประเภทบอกให้รู้ว่าบริษัทตนนั้นขายอะไร ทำอะไร หรือบริษัทที่ผู้บริโภครู้จักชื่อเสียงและสินค้าของตนแล้ว จึงหันมาเดินตามแนวทางการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรกันมากขึ้น

การสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการช่วยเหลือสังคมเป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะทำและควรจะมีให้มากยิ่งขึ้นเสียด้วยซ้ำเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ของผู้คนและปัญหาต่างๆ ในสังคมที่มีอยู่มากมาย เพราะการจะหวังเพียงความช่วยเหลือจากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว เราก็คงจะเห็นมานานแล้วว่าไร้ผลสัมฤทธิ์อย่างไร การทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ เสียอีกที่ช่วยบรรเทาความป่วยไข้ของสังคมให้ทุเลาเบาบางลง ดังนั้นยิ่งเมื่อมีมือแห่งความกรุณาจากภาคธุรกิจที่ยื่นเข้ามาให้ความช่วยเหลือแบ่งเบาปัญหาต่างๆ ในสังคมไทย จึงเป็นเรื่องน่ายินดีและน่าประทับใจกับความจริงใจของบริษัทและองค์กรเหล่านั้น

แต่การโฆษณาสร้างภาพลักษณ์องค์กรเพื่อกลบข่าวด้านลบที่บริษัท/องค์กรนั้นๆ กำลังประสบหรือได้รับการต่อต้านจากประชาชน กลับทำให้รู้สึกตะขิดตะขวงใจและรู้สึกว่าเลวร้ายเสียยิ่งกว่าโฆษณาขนมหลอกเด็ก หรือโฆษณาครีมทาหน้าขาวเสียอีก นั่นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือโครงการนั้นๆ มิใช่ส่งผลกระทบเพียงแค่ตัวบุคคลที่ใช้สินค้าเท่านั้น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คน ชุมชน และสังคมโดยรวม ทั้งยังอาจสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ

ตัวอย่างมีให้เห็น
- ปัญหาเขื่อนปากมูล ในอดีต เมื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างเขื่อนปากมูลซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวบ้านปากมูลไม่สามารถประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านได้ดังเดิม เนื่องจากปลาที่อาศัยอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ ของลำน้ำมูลซึ่งเคยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ให้ชาวบ้านได้หาอยู่หากินอย่างไม่ขัดสน (จากพันธุ์ปลาในแม่น้ำมูล ที่มีการบันทึกไว้ในปี 2537 จำนวน 265 ชนิด มีปลา 77 ชนิด ที่เป็นปลาอพยพ 35 ชนิด เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ หากแต่การสำรวจหลังการสร้างเขื่อน พบว่า เหนือเขื่อนมีปลาเหลือเพียง 96 ชนิด และมีพันธุ์ปลาถึง 56 ชนิด ที่ไม่ปรากฏว่าจับได้อีกเลย อ้างอิงจาก ไร้สิ้นกลิ่นปลาแดก.. ที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน เดอะเนชั่นสุดสัปดาห์ รายงานพิเศษ / แม่มูนมั่นยืน /
- ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข และโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ SEARIN) แต่เมื่อมีการสร้างเขื่อนซึ่งต้องทำลายแก่งต่างๆ อันเป็นที่อยู่อาศัยของปลา ทั้งยังสกัดกั้นการเดินทางของปลาจากแม่น้ำโขงที่อยู่บริเวณท้ายเขื่อนซึ่งจะว่ายขึ้นมาวางไข่บริเวณเหนือเขื่อนในแม่น้ำมูล

เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่สร้างข้อวิพากษ์ถกเถียงจากนักวิชาการ เอ็นจีโอ กับทาง กฟผ. จนกระทั่งนำไปสู่การสร้างบันไดปลาโจนพร้อมไปกับการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อชี้แจงว่าการสร้างเขื่อนนี้ไม่ได้มีผลกระทบดังที่มีข่าวออกมา ในช่วงนั้นมีภาพยนตร์โฆษณาที่ดูแล้วน่าประทับใจเรื่องหนึ่งที่ฉายให้เห็นภาพของชาวบ้านปากมูลยิ้มแย้มอย่างมีความสุขที่สามารถประกอบอาชีพประมงได้เพราะมีบันไดปลาโจนให้ปลาว่ายทวนขึ้นไปวางไข่ ผู้ชมอาจจดจำประโยคที่ว่า "ปลาแดกบ่หมดไห" ทว่าในความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นในโฆษณาเลยสักนิด มิฉะนั้นสมัชชาคนจนคงไม่เข้ากรุงเทพฯ มาเรียกร้องให้รัฐบาลที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ให้ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องค่าชดเชยที่ดินทำกินมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นแน่

เมื่อไม่นานมานี้ มีภาพยนตร์โฆษณาอีก 2 เรื่อง ที่สะกิดใจอย่างแรงจนอดไม่ได้ที่จะหวนคิดไปถึงโฆษณา "ปลาแดกบ่หมดไห" โฆษณาทั้งสองเรื่องนี้เป็นของบริษัทที่ทำกิจการด้านพลังงาน เรื่องแรก เป็นเรื่องราวของครูที่พาเด็กๆ ไปทัศนศึกษาที่โรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดทางภาคใต้ ภาพยนตร์โฆษณานี้ดูน่ารักน่าเอ็นดูและตลกขบขันไปกับเรื่องราวของครูที่พาเด็กๆ ไปดูสัตว์ต่างๆ ที่ในโฆษณากล่าวอ้างว่าสามารถพบเห็นได้ในบริเวณโรงไฟฟ้าแห่งนั้น มีทั้ง นกออก ลิงแสม เหยี่ยวทะเล และโลมาสีชมพู ให้เด็กๆ และครูได้ฮือฮาตื่นตาตื่นใจ ดูไปแล้วอาจคิดว่าเป็นโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่นำเสนอ UNSEEN THAILAND แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศไทยอย่างไรอย่างนั้น

ภาพยนตร์โฆษณาอีกเรื่องหนึ่งนำเสนอให้เห็นว่าบริษัทที่ทำกิจการด้านพลังงาน (อยู่ในจังหวัดทางภาคตะวันออกที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลยอดนิยมของนักท่องเที่ยว) มีความรักในบ้านเกิด ห่วงใยผู้คนในชุมชน และสำนึกถึงบุญคุณของแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะทำกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่บริษัทดังกล่าวได้มีการดูแลป้องกันเป็นอย่างดี ในภาพยนตร์โฆษณาจะเห็นรอยยิ้มของเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนเล็กๆ ที่มีมิตรไมตรี มีสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัยน่าอยู่อาศัย

แต่ก็อย่างที่พาดหัวข้อไว้ตั้งแต่เริ่มแล้วว่า "ความจริงทั้งหมดไม่ได้ปรากฏในโฆษณา" ความจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ๆ โครงการดังกล่าวมักจะไม่ค่อยปรากฏออกสู่สายตาหรือการรับรู้ของสาธารณชน นอกเสียจากว่าจะมีการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบออกมาประท้วง เรียกร้อง ต่อต้าน ป่าวร้องให้สังคมภายนอกรับรู้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง ข่าวคราวก็จะเงียบหายไปดังคลื่นกระทบฝั่ง จะมีใครสักกี่คนที่ได้รับรู้ว่า การสร้างโรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช ได้ส่งผลกระทบต่อนิเวศน์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและการประกอบอาชีพประมงเนื่องจากโรงไฟฟ้าปล่อยน้ำอุ่นลงทะเลทำให้ปลาไม่สามารถฟักไข่ได้ และผลกระทบจากการดูดน้ำทะเลเข้ามาหล่อเย็นในโรงไฟฟ้าทำให้ลูกปลาโดนดูดเข้าไปตาย จากการศึกษาของกรมประมงเมื่อปี 2525 พบว่ามีลูกปลาถูกดูดตายปีละ 12.34 ล้านตัว (อ้างอิงจาก โรงไฟฟ้ากับการตัดสินใจ http://www.talaythai.com/)

ผลกระทบด้านมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและนิคมอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งในจังหวัดระยอง ส่งผลให้ชาวระยองป่วยเป็นโรคมะเร็งมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศโดยเฉพาะมะเร็งในปอด มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในประเทศ และมีอัตราของเด็กแรกเกิดร่างกายผิดปกติ สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบสิบปีที่ผ่านมา ("มาบตาพุด" เมื่อสุขภาพเดินตามรอย ความเจริญทางเศรษฐกิจ โดย one ton วันชัย ตัน หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 19 สิงหาคม 2550) เนื่องจากได้รับสารเคมีปนเปื้อนและสารก่อมะเร็งจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (จากข้อมูลของกรีนพีซ กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม และโกลบอลคอมมิวนิตี้มอนิเตอร์ มีรายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่างอากาศย่านชุมชนที่อยู่อาศัยโดยรอบนิคมฯมาบตาพุดซึ่งพบว่ามีมลพิษในระดับที่เป็นอันตรายมาก กรมควบคุมมลพิษได้เก็บตัวอย่างอากาศไปวิเคราะห์อีกครั้ง และมีผลที่ยืนยันได้ว่ามีการปนเปื้อนของสารพิษจริง จึงได้เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ประกาศมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ) แต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเขตนิคมอุตสาหกรรมฯ ต่อไป เมื่อจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินขนาด 3,200 เมกะวัตต์ ของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านพลังงาน จึงได้รับการต่อต้านจากชาวระยองที่ได้รับบทเรียนอันเจ็บปวดและแสนสาหัสนั้นแล้ว

คงไม่ต้องถามหาจริยธรรมจากบริษัทผู้รับทำภาพยนตร์โฆษณาเหล่านั้น ทั้งยิ่งไม่จำเป็นต้องเรียกร้องจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้ตรวจสอบว่าโฆษณานั้นเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ นั่นเพราะภาพความจริง "เทียม" เช่นภาพยนตร์โฆษณาที่หยิบยกมากล่าวถึงข้างต้น ยังจะมีให้เราได้ดูกันต่อไปอีกหลายๆ เรื่อง เพราะตราบใดที่ทุนนิยมเสรีครอบโลกเราอยู่ และเพราะโลกทุนนิยมเสรีนั้นให้คุณค่าแก่ "เงินตรา" ทุนนิยมที่เชื่อว่าความสุขเกิดจากการบริโภคและการครอบครองวัตถุ (อ่าน "วิพากษ์ทุนนิยม จากมุมมองของศาสนา" โดย พระไพศาล วิสาโล) เช่นเดียวกับความจริงในยุคโลกาภิวัตน์ที่นับวันยิ่งยากที่จะหยั่งถึงว่า ความจริงชุดนั้น "แท้" หรือ "เทียม" ซึ่งนี่คงบอกได้ "จริงๆ" ว่า ความจริงแท้ของโลกเป็นเช่นนี้

Principle of Advertising

หลักการโฆษณา Principle of Advertising

- หลักการสร้างสรรค์งานโฆษณาให้ได้ผล
หลักการสร้างสรรค์ที่ดี
1. การสื่อสารที่ดีจะต้องตรงประเด็น สร้างสรรค์ มีผลกระทบในแง่การจดจำ (Good Communication must be relevant, Original)2. ง่ายและชัดเจน (Simple and Clear)
3. ให้เนื้อหาก่อนรูปแบบ (Contents before form)
4. สร้างความน่าเชื่อถือ (Building trust)
5. กระตุ้นทั้งเหตุผลและอารมณ์ (Appeal to head and heart)
6. แสดงตำแหน่งครองใจของสินค้าชัดเจน (Strongly projecting product positioning)
7. มีความแปลกใหม่ (Breaking the pattern)
8. มีจุดขายชัดเจนจูงใจให้ซื้อ (Featuring compelling selling point)
9. แสดงบุคลิกของสินค้าชัดเจน (Clearly projecting product personality)
10. สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ต่อเนื่องในระยะยาว (Big ideas must be expandable and Long - Lasting)

- การกำหนดลีลา (Tone) ของโฆษณา
ลีลา (Tone) คือการกำหนดภาพ คำพูด สิ่งต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับบุคลิกของสินค้า เช่น สวยงาม น่าเชื่อถือ จริงจัง แบ่งเป็น
1. มุ่งขาย (Hard Sell) กับขายอ้อม (Soft Sell)มุ่งขาย (Hard Sell) คือ การพูดถึงคุณสมบัติตรง ๆ ใช้กับสินค้าที่โฆษณาต่อสู้กับคู่แข่งขันขายอ้อม (Soft Sell) คือ การพูดจานิ่ม ๆ ไม่พูดชัดเจนจนเกินไปเหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการสร้างภาพพจน์ และสินค้าที่เป็นผู้นำตลาด
2. ความพร้อมของอารมณ์ (Mood)การโฆษณาเมื่อกำหนดลีลาแล้วจะต้องมีการกำหนดอารมณ์ (Mood) การสร้างความพร้อมในอารมณ์ให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายทำให้เกิดความรู้สึกอยากกิน อยากนอน อยากซื้อ เป็นความพร้อมของอารมณ์ปฏิบัติ องค์ประกอบที่ช่วยสร้างความพร้อมของอารมณ์ได้แก่สี (Color) แสง (Lighting) ภาษาคำพูด / ภาพ (Wording or Visual) ดนตรี (Music) สถานการณ์ (Situation) เวลา (Timing) การเคลื่อนไหว

- การกำหนดสิ่งจูงใจ (Appeal ) ของโฆษณา
สิ่งจูงใจ (Appeal)สิ่งจูงใจนำมาจากจุดขาย หรือผลประโยชน์ (Benefit) มาจูงใจให้ซื้อสินค้า เช่น ความทนทาน สวย ประหยัด นำมาตอกย้ำให้ชัดเจน นำมาใช้ในการกำหนดยุทธวิธี (Strategy) เพื่อไม่ให้ออกนอกยุทธวิธี (Off Strategy) ซึ่งจุดขายจะถูกกำหนดไว้ก่อน การสร้างสรรค์โฆษณา โดยกำหนดได้ในลักษณะดังนี้
1. เหตุจูงใจด้านอารมณ์ และเหตุจูงใจด้านเหตุผล (Emotional appeal and Rational appeal)การใช้อารมณ์เป็นเหตุจูงใจ ได้แก่ ความรัก ความสนุกสนาน เพศ ส่วนการใช้เหตุผลจูงใจ เช่น ความทนทาน ประหยัด คุณภาพสูง ซึ่งการใช้เหตุจูงใจทั้งอย่างนี้ มักใช้ผสมผสานกับทั้งเหตุผลและอารมณ์ในสัดส่วน 50 : 50
2. การพูดจริงจัง หรือพูดด้วยอารมณ์ขัน (Serious / Humor) คือการใช้ความจริงจัง หรือใช้อารมณ์ขันตลกมาจูงใจ
3. การพูดตรงไปตรงมา หรือพูดแบบมีลูกเล่น (Straightforward / Gimmic)
4. การใช้เทคนิคชั้นสูงหรือการใช้แบบธรรมเนียมนิยม (High - tech / Tradition)

- เทคนิคการนำเสนองานโฆษณา (Presentation Techniques)
ในการสร้างสรรค์งานโฆษณา (Creative Strategies) มีการกำหนดตำแหน่งครองใจของสินค้า Positioning (Production Positioning) จุดขาย (Selling Point) บุคลิกของสินค้า (Product personality) นอกจากนั้น ยังต้องคำนึงถึง ลีลา (Tone) ในการสื่อสารว่าจะมุ่งขาย (Hard cell) หรือขายอ้อม (Soft Sell) พร้อมกับกำหนดอารมณ์ (Mood) และการจูงใจ (Appeal) ในแผนสร้างสรรค์ จนกระทั่งมาถึงลำดับสุดท้าย คือ การเลือกยุทธวิธีต่าง ๆ ในการนำเสนองานโฆษณา มีดังต่อไปนี้

1. การใช้สินค้าเป็นพระเอก (Product as a hero) เป็นการนำเสนอโดยใช้สินค้าแต่เพียงอย่างเดียว เทคนิคนี้เหมาะกับสินค้าที่มีจุดเด่น สวยงาม น่าสนใจ

2. การใช้ผู้นำเสนอ (Presenter) คือ การใช้ผู้นำเสนอซึ่งเป็นบุคคลที่น่าสนใจ มาพูดชักจูงใจสร้างความน่าสนใจทำให้ ผู้บริโภคหันมาพิจารณางานโฆษณา

2.1 การใช้โฆษก (Spokesman) คือ การนำโฆษณามาเป็นผู้แนะนำสินค้าว่าสินค้ามีคุณสมบัติดีอย่างไรแต่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ เช่น นำ ดู๋ (สัญญา คุณากร) มาเป็นผู้แนะนำสินค้า S.B. Furniture เป็นต้น
2.2 การใช้ผู้นำเสนอที่เป็นผู้ใช้สินค้า (Testimonial) วัยรุ่น คือการนำบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมาย เช่น แม่บ้าน นักธุรกิจ วัยรุ่น ผู้นำเสนอ เหล่านี้จะพูดรับรอง ยืนยันคุณภาพสินค้าว่าใช้แล้วได้รับผลดีอย่างไร (Testimonial) เขาเหล่านั้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกลุ่มคนเหล่านั้น
2.3 การใช้ผู้เสนอเป็นสัญลักษณ์การ์ตูน (Mascot) คือ การนำเสนองานโฆษณา โดยใช้ตัวการ์ตูนที่สร้างขึ้นมาเป็นผู้นำเสนอสินค้า เช่น ตัวการ์ตูนในน้ำมันพืชกุ๊ก
2.4 การใช้ผู้นำเสนอเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ (Authority) คือ บุคคลที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโภชนาการ การแพทย์, การออกแบบ ได้แก่ สถาปนิก, วิศวกร, นายแพทย์ นักวิชาการ ครูอาจารย์ มาแนะนำสินค้า ทำให้สินค้าเกิดความน่าเชื่อถือ เช่น ทันตแพทย์แนะนำยาสีฟัน สถาปนิกแนะนำบ้าน เป็นต้น

3. การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงที่ใช้สินค้าพูดรับรอง (Celebrity Testimonial) บุคคลที่มีชื่อเสียง คนดัง ได้แก่ ดารา นักร้อง นักแสดง โดยบุคคลที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ จะต้องมีบุคลิกสอดคล้องกับสินค้ามาเป็นผู้พูดรับรองยืนยันคุณภาพของสินค้าในลักษณะเป็นผู้ใช้ สินค้า เช่น ดร.เสรี วงษ์มณฑา แนะนำซอสปรุงรสตราฉลากทอง เป็นต้น

4. เสี้ยวหนึ่งของชีวิต (Slice Of life) คือ การนำเสนอโดยใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ซึ่งเป็นเสี้ยวหนึ่งของชีวิตมานำเสนอในรูปแบบการเล่าเรื่องในอดีต เช่น โฆษณาของบริษัทไทยประกันชีวิต ชุด ปู่ชิว

5. การชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้าในลักษณะเกินจริง (Dramatization) คือ การนำเสนอประโยชน์ของสินค้าในลักษณะเกินจริง เพื่อสร้างโดดเด่น และสร้างการจดจำได้ดีกว่าโฆษณาชิ้นอื่น เช่น โฆษณา ชาเขียวโออิชิ ชุด หลอดดูด เป็นต้น

6. ก่อนใช้-หลังใช้ (Before and After) เป็นการโฆษณาโดยยกเหตุการณ์เปรียบเทียบก่อนใช้สินค้า และหลังจากใช้สินค้าแล้ว ผลลัพธ์เป็นอย่างไร เช่น ผมที่แห้งฟูกลายเป็นผมเหยียดตรงเงางาม มีน้ำหนัก ใบหน้าที่เป็นสิวหายจากการเป็นสิว เป็นต้น

7. การแสดงให้เห็นชุดของการแก้ไขปัญหาเรื่อง (Vignette or service of problem) คือ การนำเสนอปัญหาที่หลากหลายสามารถแก้ ปัญหาได้ด้วยสินค้าที่โฆษณา เช่น การโฆษณายาหม่อง สามารถแก้ไขปัญหาเรืองการปวด ที่หลากหลาย การโฆษณาของครีมทาผิวที่แก้ปัญหาผิวหยาบกร้าน มือ เท้า น่อง แขนขา น้ำยาทำความสะอาด ที่สามารถทำความสะอาดครัว พื้นบ้าน ห้องน้ำ หรือพื้นผิวทุกชนิด เป็นต้น

8. การใช้การเปรียบเทียบ (Competitive) การนำสินค้าที่โฆษณาไปเปรียบเทียบกับสินค้าที่เป็นคู่แข่งในลักษณะที่ชี้ให้เห็นว่า ดีกว่าอย่างไรบ้าง เช่น โฆษณาของน้ำยาล้างจานซันไลต์ ชี้ให้เห็นว่าสามารถล้างจานกองโตให้สะอาด หมดคราบ อย่างรวดเร็ว แม้ภาชนะจานชามที่มีไขมันจับ

9. การใช้การสาธิต (Demonstration) เป็นการนำเสนอเนื้อเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงานสินค้า โดยเฉพาะประสิทธิภาพการทำงานของสินค้า ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โฆษณาตู้เย็นว่ามีโครงสร้างทนกรด โดยการเอาตู้เย็นไปแช่ในทะเล ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์หลังจากใช้น้ำมันเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของผงซักฟอกที่สามารถขจัดคราบไคลเลือด สิ่งสกปรกที่ฝังแน่น เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว การนำเสนอเนื้อเรื่องโดยการสาธิต ยังสามารถจำแนกได้อีกครั้ง ดังนี้

9.1 การสาธิตโดยการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน (Comparative demonstration) คือ การสาธิตประสิทธิภาพการทำงานของสินค้า 2 อย่าง เปรียบเทียบกัน
9.2 การสาธิตเชิงปฏิบัติการ (Operational Demonstration) คือ การสาธิตโดยการแสดงให้เห็นเป็นขั้นเป็นตอน ในประสิทธิภาพการทำงานของสินค้าเช่นสาธิตให้เห็นการทำงานของผ้าอ้อมที่รองรับความชื้นได้มาก ไม่ไหลย้อนกลับ เด็กแห้งสบายตัว ไม่ตื่นตลอดคืน
9.3 การสาธิตเกินจริง (Dramatization Demonstration) คือ การสาธิตที่ใช้เนื้อเรื่องในการานำเสนอเกินจริง เพื่อที่จะได้เห็นคุณสมบัติที่เด่นของสินค้า เช่นการโฆษณาของมันฝรั่งกรอบ ที่กรอบเต็มแผ่น สามารถขว้างออกไปได้เหมือนอาวุธของนินจา และย้อนกลับมาได้ เต็มแผ่นอย่างเดิม เป็นต้น
9.4 การสาธิตแบบกราฟฟิก (Graphic Demonstration) คือ การนำกราฟฟิกมาใช้ในงานสาธิต สำหรับสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยการนำกราฟฟิกเข้ามาช่วยในการสาธิต ให้เห็นประสิทธิภาพของสินค้า เช่น การทำงานของแอร์คอนดิชั่น การไหลเวียนของความเย็น การทำงานของเครื่องซักผ้า การทำงานของเครื่องยนต์ เป็นต้น
9.5 การนำสินค้าไปทดสอบ (Product ‘n’ test)

10. การใช้สารคดี (Documentary) การนำเสนอประวัติ ตำนานของบริษัท สินค้า การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ขั้นตอนการผลิตสินค้า การออกแบบ การบรรจุหีบห่อ แทนที่จะนำเสนอในรูปแบบภาพยนตร์โฆษณาที่จัดทำในรูปแบบสารคดี

11. การใช้แฟนตาซี (Fantasy) การนำเสนอในรูปแบบความฝันเป็นเทพนิยาย ความเพ้อฝัน ใช้โฆษณาขายสินค้าประเภทสวยงาม

12. การใช้สัญลักษณ์ (Symbolic) การสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมา แล้วนำสัญลักษณ์มาเป็นตัวแทนของสินค้า เช่น เสือผู้ทรงพลังดุจน้ำมัน เครื่องเอสโซ่ที่ทำให้รถยนต์เกิดพลังสูงสุด เช่น พลังเสือ ใบโพธิ์ที่มีการแผ่กิ่งก้านเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่สะท้อนความมั่นคงของธุรกิจ

13. การใช้วิธีอุปมาอุปไมย (Analogy) คือ การใช้วิธีการเปรียบเทียบ ในลักษณะของการเปรียบเทียบว่าดีเหมือนกับอะไร เช่น โฆษณาของลูกอมฮอลส์บอกว่าเย็นเหมือนอาบน้ำตก เป็นต้น

14. การใช้วิธีการร้องเล่นเต้นรำ (Production number) คือ การนำเสนอในรูปแบบของการร้องเล่นเต้นรำ โดยใช้เสียงเพลง ดนตรี เช่น โฆษณาของธนาคารกรุงไทยที่มีการร้องเล่นเต้นรำ ชุดเงินที่สังคมหมุนไป

Experience Thailand Once in A Lifetime